“..thewords we write are very real representations of our companies and ourselves. We must be sure that our e-mail messages are sending theright messages about us.”
Janis Fisher Chan[1]
การเขียนเชิงธุรกิจในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการนำเทคโนโลยีสื่อสารส่วนบุคคลโดยเฉพาะLINE และ Facebookมาใช้ในการทำงานมากขึ้นเกิดเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ปฎิบัติกันอย่างแพร่หลาย (newnormal) แต่ไม่เหมาะสมในหลายด้านและควรได้รับการแก้ไขเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ
Nasty NewNormal ในการเขียนเชิงธุรกิจ
1. เส้นคั่นระหว่างความเป็นส่วนตัวและความเป็นมืออาชีพ
· ภาษาคำศัพท์ที่ใช้ น้ำเสียง/โทน และรูปแบบที่แสดงความเป็นกันเองจนไม่เป็นทางการและผิดกาลเทศะ
· สถานการณ์ไหนควรจะสื่อสารด้วยวิธีอะไรการตอบรับ หรือให้ข้อมูลผ่านช่อง LINE หรือFacebook สามารถถือว่าเป็นการตอบรับหรือให้ข้อมูลอย่างเป็นทางการได้หรือไม่
2. การแปรผกผันระหว่างความเร็วและความถูกต้อง
· รีบพิมพ์จนสะกดผิดผิดไวยากรณ์
· รีบอ่านจนตีความผิดเข้าใจผิด หลุดประเด็นสำคัญ
· รีบส่งจนข้อความไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาด
· ส่งผิดคน
Top 5 Annoying Emails จากประสบการณ์ของฟุลไบรท์
1. Too Careless
· เนื้อหา
- ผิดพลาด ไม่ครบ หรือไม่เหมาะสม
- เขียนไม่เข้าประเด็น อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าเขียนมาเพื่ออะไร
- ขอข้อมูลในเรื่องที่มีคำตอบอยู่แล้วหรือสามารถหาคำตอบเองได้ง่าย ๆ
· ภาษา
- สะกดผิด ไวยากรณ์ผิด หรือใช้ประโยคยาวมากเกินไปทำให้จับใจความยาก
- ใช้ภาษาผิดประเภท ไม่เหมาะกับผู้รับหรือใช้โทนไม่เหมาะสม เช่น ขอความช่วยเหลือด้วยโทนออกคำสั่ง
- พิมพ์ติดกันไม่มีเว้นวรรค หรือเว้นบรรทัด
· เทคนิค
- ส่งผิดคน หรือส่งคนที่ไม่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องรับรู้ หรือไม่ควรรับรู้ เช่น การ replyall กับข้อความที่ต้องการส่งให้ผู้รับคนเดียว
- ส่งข้อความโต้ตอบด้วยการกด reply ไปเรื่อย ๆ ทำให้ email มีความยาวเกินจำเป็น
- การ replyจากข้อความเก่าและใช้ subject line เดิมโดยเนื้อหาเป็นคนละเรื่องกัน
- แนบเอกสารผิด หรือลืมแนบ
- แนบไฟล์ใหญ่มากหรือแยกเอกสารชุดเดียวเป็นหลายไฟล์แทนที่จะรวมเป็นไฟล์เดียว เช่นแนบประวัติการศึกษา 10 ไฟล์ ไฟล์ละหน้าแทนที่จะแนบไฟล์เดียว 10 หน้า
2. Too Casual
แสดงความเป็นกันเองเกินสมควร
· ไม่มีการขึ้นต้นลงท้าย หรือไม่มีข้อความอะไรเลย มีแต่ attachmentอย่างเดียว
· ใช้ภาษาพูดคำแสลง คำย่อ ศัพท์เฉพาะกลุ่ม หรือภาษาวกวนที่ไม่มีการเรียบเรียงระบบความคิด เช่นพิมพ์ตามที่คิดทันที ไม่ได้ปรับแต่งให้สั้น กระชับ ได้ใจความ
· ใช้เครื่องหมายหรือ emoticons มากเกินไปหรือ font ที่ไม่เป็นทางการ
3. Vague Subject Line
· ไม่ใส่หัวเรื่อง
· หัวเรื่องไม่สื่อความหมายทำให้ไม่รู้ว่าเขียนมาเพื่ออะไร สำคัญหรือไม่ และอาจหลุดรอดสายตาโดยเฉพาะในหน่วยงานใหญ่ ๆ ที่ได้รับ emailจำนวนมากในแต่ละวัน
· หัวเรื่องไม่เหมาะสม ทำให้ดูเหมือนspam และอาจถูกระบบกรองไว้ใน junk mail หรือ spam แทน inbox
4. Ridiculous Email Address
ตั้งชื่อ email ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ซึ่งมักจะเป็นแนว sexy น่ารักหยาบคาย และมีสัญลักษณ์ หรือตัวเลขที่เป็นรหัสส่วนบุคคล โดยมากจะเป็น email ส่วนบุคคล ซึ่งนำมาใช้ในการติดต่องานทำให้เสียภาพลักษณ์ของตนเองและองค์กร
5. Emotional Email
· Email ที่เขียนในระหว่างที่มีอารมณ์โกรธหรือร้อนใจ ทำให้เนื้อหาไม่ได้รับการกลั่นกรองทั้งในด้านภาษาและเนื้อหาซึ่งถ้าส่งไปทันทีจะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง
· Email ที่มีน้ำเสียงสั่งให้ทำเช่นในกรณีติดตามงาน หรือขอข้อมูล ที่ต้องการให้ตอบทันที บางครั้งจะมีการส่ง email ที่เนื้อหาคล้าย ๆ กัน มาเป็นระยะเพื่อเป็นการเร่ง
Email Etiquette: Examples
1. Be Purposeful – มีจุดมุ่งหมาย
· บอกวัตถุประสงค์ในการเขียน
· ใช้หัวเรื่องที่สือความหมายเข้าใจได้ทันทีว่า email ฉบับนี้เกี่ยวกับอะไร
· ไม่ออกนอกเรื่อง
· ใช้โทนเสียงที่เหมาะกับวัตถุประสงค์และผู้รับ
· กรณีที่เป็นการขอข้อมูลควรมีกรอบในสิ่งที่ถาม และไม่ควรถามในสิ่งที่หาคำตอบเองได้
· อาจมีการใส่สรุปสิ่งที่ต้องการไว้ในparagraph สุดท้าย
2. Be Clear – ชัดเจน
· ใช้ภาษาง่ายตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน เพราะจุดประสงค์คือสื่อความหมายไม่ใช่การสร้างสุนทรียภาพทางภาษา
· ข้อความไม่ยาวหากยาวเกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ควรทำเป็นattachment และสรุปเฉพาะใจความสำคัญในตัว email
· เว้นวรรคเว้นบรรทัด และย่อหน้าตามความเหมาะสม เพื่อให้ดูเนื้อหาไม่หนักเกินไป
· อาจมีการทำตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญเพื่อช่วยย้ำเน้น
· ระบุวันเวลา และสถานที่ให้ชัดเจน และตรวจสอบให้แน่ชัดว่าผู้รับใช้วิธีการเขียนวันที่แบบอังกฤษหรืออเมริกัน
3. Be Professional – เป็นมืออาชีพ
· ใช้ชื่อemail ที่ดูน่าเชื่อถือ และเป็นภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นมืออาชีพ และความเป็นสากล
· มีการอ่านทวนเพื่อดูภาพรวมทั้งหมด เช่น คำผิด ไวยากรณ์ เนื้อหา ชื่อ ตำแหน่งและหน่วยงานของผู้รับ
· ไม่เผยแพร่หรือส่งต่อข้อความ รูปภาพหรือเอกสารที่มีลิขสิทธิ์ หรือเป็นความลับ
· ส่งหรือตอบอีเมลในช่วงเวลาที่เหมาะสมบางครั้งอาจต้องรีบตอบทันที ไม่ควรทอดเวลาไว้ หรือบางครั้งต้องตอบ acknowledge ทันที
· ไม่ส่งemail ขณะที่มีอารมณ์
· ใช้ email ของที่ทำงานในเรื่องที่เกี่ยวกับงานเท่านั้น
· นอกจากลงชื่อแล้วควรใส่ signature เสมอเพื่อเป็น reference ให้กับผู้รับ
· อ่านให้จบก่อนตอบเพื่อให้ได้ใจความครบถ้วน และถูกต้อง
4. Be Courteous – สุภาพ
· เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวเองในกรณีที่ไม่เคยติดต่อกันมาก่อนหรือไม่ได้ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง
· เลือกคำขึ้นต้นลงท้ายที่เหมาะกับผู้รับ
· หากมีattachment ไฟล์ที่ส่งต้องไม่เยอะเกินไปและไม่หนักเกินไป โดยระบุใน email อธิบายสิ่งที่แนบมาเช่น ไฟล์เอกสาร 5 หน้า หรือคลิปสั้น 3 นาที
· หากส่งข้อความถึงผู้รับกลุ่มใหญ่ควรใช้ BCC เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับและป้องกันการ reply all โดยไม่จำเป็น
· การใช้reply back สามารถทำได้ในการโต้ตอบระยะสั้น ๆ หากต่อเนื่องเกินพอดีจะทำให้ข้อความหนักและยาว
· หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นตัวใหญ่ทั้งหมดเพราะจะทำให้ข้อความมีน้ำเสียงเหมือนการตะโกน และทำให้อ่านยาก
· ตอบหรือ acknowledge ในกรณีที่ได้รับข้อมูลแล้วเพื่อให้ผู้ส่งทราบว่าข้อความส่งถึงผู้รับเรียบร้อย
Things to Remember
1. ผู้เขียนต้องมีความเข้าใจเนื้อหาให้ชัดเจนก่อนจึงจะสามารถสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจถูกต้องตรงกัน
2. สิ่งที่เขียนจะแสดงระดับความเป็นมืออาชีพของผู้เขียนดังนั้นจึงควรมีการจัดลำดับความคิดให้ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สุภาพ และไม่ด่วนส่ง
3. ต้องตรวจทานทุกครั้ง โดยเฉพาะเมื่อเป็นประเด็นอ่อนไหว(sensitive) และอย่าส่งขณะที่กำลังมีอารมณ์ โดยเก็บเป็นdraft ทิ้งไว้สักหนึ่งคืน แล้วจึงกลับมาอ่านเพื่อตรวจแก้อีกครั้ง
4. ผู้เขียนและผู้รับต่างก็มีเวลาน้อย จึงควรเขียนให้กระชับเข้าประเด็น
5. เนื้อหาและข้อมูลต้องครบถ้วน ถูกต้อง
6. เมื่อกดส่งแล้วจะเรียกคืนไม่ได้ แต่ forward ต่อได้ดังนั้นจึงต้องระวังข้อความให้เหมาะสม ถูกต้อง และไม่เป็นความลับหรือทำให้เกิดความเสียหาย
7. สิ่งที่เขียนไม่ว่าจะในรูปแบบอีเมล LINE หรื
[1] E-Mail: A Write It WellGuide-How to Write andManage E-Mail in theWorkplace byJanis Fisher Chan in BrokerMagazine quoted in Written Communication at http://www.inc.com/encyclopedia/written-communication.html