อีกเรื่องที่สำคัญมากถึงมากที่สุดในการสมัครทุนและสมัครเรียนคือStatementof Purpose (SOP) และ Personal Statement (PS) ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีเพื่อแสดงว่าเราเป็นคนที่“ใช่” และมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จในการเรียนและการรับทุน ข้อแตกต่างระหว่าง SOP กับ PS คือ อย่างแรกจะบอกว่า “เราต้องการทำอะไร”(วัตถุประสงค์ในการสมัคร/เรียน) ส่วนอย่างหลังจะเน้นที่ “เราเป็นใคร” (ทำไมถึงควรจะได้ทุน/ได้รับเข้าเรียน)
คนอ่านจะรู้จักเราจาก SOP และ SP ดังนั้นจึงต้องตั้งใจเขียนให้ดี ให้เราโดดเด่นออกมาจากกองใบสมัคร
มีแหล่งข้อมูลมากมายเกี่ยวกับวิธีการเขียน SOP และ SP แต่ที่ฟุลไบรท์อยากจะเน้นในตอนนี้มี 3 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
1. หาข้อมูลก่อนเขียน
การที่เรารู้ว่าทุนนั้น ๆเขามองหาอะไรในตัวผู้สมัคร (คุณสมบัติอะไรที่ตรงกับเรา) โปรแกรมที่เราอยากจะเรียนมีรายละเอียดอะไรบ้าง(เปรียบเทียบกับที่เราเคยเรียน ความชอบ ประสบการณ์ แผนการในอนาคต ฯลฯ)ทำไมต้องเป็นที่นี่ (เช่น ทำไมต้องอเมริกา) จะทำให้ใบสมัครของเรามีน้ำหนักมากขึ้นขอหมายเหตุนิดนึงตรงคุณสมบัติของเรา คือนอกเหนือจากเราจะได้อะไรจากทุน/โปรแกรมที่เรียนแล้วควรจะดูด้วยว่าเราจะมี contributionอะไรให้กับทุน/โปรแกรมที่เรียน/มหาวิทยาลัยได้บ้างเรียกว่ามีทั้งรับและให้ในเวลาเดียวกัน
2. ความเชื่อมโยง
เมื่อมีข้อมูลดี เหตุผลประกอบยอดเยี่ยมก็อย่าลืมความเชื่อมโยงที่จะทำให้เนื้อหาของเราสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกันตรงนี้การทำ outlineจะช่วยให้เราเห็นว่าเหตุและผลไปด้วยกันรึเปล่าประเด็นกระโดดข้ามไปข้ามมามั๊ย และเรื่องราวเรียงตัวไปทิศทางเดียวกับเนื้อหาหลักของเราหรือไม่
3. ตรวจทาน
เขียนเสร็จแล้วต้องตรวจทาน ครั้งเดียวไม่พอต้อง 3-4 ครั้งขึ้นไป บางคน versionแรกกับ version หลังสุดเป็นคนละเรื่องกันเลย ไม่ต้องกังวลและมั่นใจได้เลยว่าทุกครั้งที่ตรวจและแก้ไข งานของเราจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ทีนี้เราต้องตรวจอะไรบ้างหลัก ๆ คือเนื้อหากับภาษาเราสามารถสมมุติตัวเองเป็นกรรมการอ่านใบสมัครหรืออาจารย์ในโปรแกรมแล้วถามตัวเองว่าเราจะเลือกเก็บใบสมัครนี้ไหม อะไรที่ควรปรับปรุงบ้างหรือเราจะขอความเห็นจากคนอื่นก็ได้ ในเรื่องภาษาก็เช่นกัน เราสามารถหาคนมาช่วย edit ภาษา แต่ต้องแค่ภาษาเท่านั้นนะไม่ใช่ตัวเนื้อหา เชื่อหรือไม่ว่ากรรมการอ่านใบสมัครจะสามารถรู้ได้ทันทีว่าคนเขียนกับคนสมัครเป็นคนเดียวกันรึเปล่าดังนั้น เขียนอะไรที่เป็นเราดีที่สุด
Note:ฟุลไบรท์มีจัดอบรมเกี่ยวกับการสมัครทุนและการเรียนต่อต่างประเทศเป็นระยะหรือตามความต้องการของสถาบันในเครือข่าย โดยมีหัวข้ออบรม เช่น การเขียน statement of purpose (รวมถึงเรื่อง plagiarism) การสอบสัมภาษณ์ และ cross cultures ติดตามรายข้อมูลข่าวสารได้ที่เฟสบุ๊คเพจ