คราวก่อนคุยกันเรื่องจดหมายรับรองในฝั่งของคนขอไปแล้วคราวนี้ขอต่ออีกนิดในฝั่งคนเขียนบ้าง เมื่อรับเขียนจดหมายรับรองให้ใครแล้วเท่ากับเราเอาตัวไปผูกกับคน ๆ นั้นระดับหนึ่งสิ่งที่เราเขียนไม่เพียงแต่จะส่งเสริมหรือส่งผลกระทบต่อการสมัครแต่ยังสะท้อนตัวตนของเราในฐานะอาจารย์ เพื่อนร่วมงาน หรือนายจ้าง รวมทั้ง commitment ที่เราได้รับเป็นผู้เขียนจดหมายรับรองด้วย นอกจากนี้การเขียนจดหมายรับรองที่ดีสักฉบับยังต้องใช้เวลา ดังนั้นควรคิดให้ดีก่อนจะตัดสินใจรับเขียนให้ใคร
สำหรับคนเขียนจดหมายรับรองมือใหม่ฟุลไบรท์มีคำแนะนำจากมุมมองของกรรมการคัดเลือกใบสมัคร (pre-screener)มาฝาก สิ่งที่กรรมการมองหาจากจดหมายรับรองหลัก ๆ แล้วก็คือ“หลักฐาน” ที่รับรองโดยบุคคลที่ 3 ว่าผู้สมัคร “เหมาะ”สำหรับทุนและโปรแกรมที่เรียน เช่น
· คุณสมบัติที่โดดเด่นของผู้สมัครโดยเฉพาะเมี่อเทียบกับคน/นักเรียนในรุ่นเดียวกัน
· ความสามารถ/ความเชี่ยวชาญเฉพาะของผู้สมัครในการเรียนหรือการทำงานเช่น พวกความรู้เฉพาะทาง การคิดวิเคราะห์ ความใส่ใจในราย
ละเอียด ความคิดสร้างสรรค์ทักษะการแก้ปัญหา รวมถึง
ความเป็นผู้นำ เป็นต้น
· แรงผลักดัน แรงกระตุ้น ของผู้สมัครในการสมัครทุนหรือโปรแกรมนั้น ๆ รวมทั้งความเป็นได้ของเป้าหมายในอนาคต
· ความเห็นอี่น ๆ เกี่ยวกับศักยภาพคุณสมบัติ บุคลิกของผู้สมัครที่คิดว่าจะช่วยให้กรรมการคัดเลือกประเมินผู้สมัครได้ดีขึ้นซึ่งควรเป็นอะไรที่
ไม่ได้อยู่ใน CV และใบสมัคร เช่น ความสนใจพิเศษหรือความอินกับอะไรสักอย่าง (สิ่งแวดล้อม งานอาสาสมัคร ฯลฯ)
สิ่งสำคัญคือ“ตัวอย่าง” ที่จะช่วยทำให้กรรมการเข้าใจและเห็นภาพได้ดียิ่งกว่าการนำคำคุณศัพท์มาเรียงต่อๆ กัน เช่น ถ้าเราจะบอกว่าผู้สมัครคนนี้มี high responsibility ก็อาจจะอธิบายต่อว่า why/how หรือจะยกตัวอย่างเป็นกึ่ง story telling ก็ได้
นอกจากเรื่องดี ๆ แล้ว เรายังสามารถระบุข้อด้อยหรือสิ่งที่ผู้สมัครน่าจะได้รับการพัฒนาเพื่อให้คุณสมบัติที่ดีอยู่แล้วดียิ่งขึ้นไปอีก เพราะว่ากันตามจริงแล้วถ้าดีเลิศไปหมดก็ไม่จำเป็นต้องได้รับทุนเหรือเรียนต่อแต่อย่างใด
ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมระวังไม่ให้จดหมายยาวเกินไป ถ้าไม่มีการระบุจำนวนคำก็ไม่ควรจะเกิน 2หน้ากระดาษ และควรลงชื่อ ตำแหน่ง พร้อมสังกัดให้ชัดเจนให้รู้ว่าเราเป็นผู้รับรองที่มีตัวตนแน่นอนเพราะอย่าลืมว่ากรรมการไม่ได้รู้จักเราทุกคน
อย่างที่บอกไปจดหมายรับรองสามารถสร้างความประทับใจให้กรรมการทั้งต่อผู้สมัครและผู้เขียนหลายครั้งกรรมการถึงกับออกปากอยากเจอผู้เขียน เพราะเขียนได้ดีมาก ๆไม่แค่แสดงว่ารู้จักผู้สมัครอย่างถ่องแท้แต่ยังรู้สึกได้ถึงความเอาใจใส่ของผู้เขียนที่มีต่อผู้สมัครลอยออกมาจากจดหมายประมาณนั้นเลย
Note: ฟุลไบรท์มีจัดอบรมเกี่ยวกับการสมัครทุนและการเรียนต่อต่างประเทศเป็นระยะหรือตามความต้องการของสถาบันในเครือข่าย โดยมีหัวข้ออบรม เช่น การเขียน statement of purpose (รวมถึงเรื่อง plagiarism) การสอบสัมภาษณ์และ cross cultures ติดตามรายข้อมูลข่าวสารได้ที่เฟสบุ๊คเพจ