สองครั้งที่ผ่านมาเรา focusกับเรื่องต้องรู้ก่อนสมัครและเอกสารในการสมัครครั้งนี้มาคุยเรื่องหลังส่งใบสมัครกันเป็นคำถามฮิตสุด ๆ ของปีนี้อีกเช่นเคย
กลุ่มที่ 6: เทคนิคการสัมภาษณ์
ก่อนอื่นการสัมภาษณ์ของฟุลไบรท์จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะมีกรรมการจาก 2 ชาติ (เราเป็นbinationalityไง) หลัก ๆ ก็จะประกอบด้วยตัวแทนกรรมการบริหารของมูลนิธิฯ(ซึ่งเป็นคนบริหารทุนฟุลไบรท์) อาจารย์หรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งศิษย์เก่าของแต่ละทุน เปิดประตูเข้าไปอาจจะมีแอบตกใจเพราะจำนวนกรรมการค่อนข้างเยอะแต่ทุกคนใจดีมาก ๆ (ยืนยันโดยผู้เข้าสัมภาษณ์ทุกรุ่น) คำถามของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกันเพราะขึ้นกับสิ่งที่เราเขียนไว้ในpersonal statement, statement of purpose และสิ่งที่ conversationของเราพาไป ซึ่งบางอย่างก็พอเตรียมได้แต่บางอย่างก็ต้องอาศัยไหวพริบเฉพาะหน้า
คำแนะนำจากพี่ ๆศิษย์เก่าคือ ซ้อมในสิ่งที่ซ้อมได้ และทำใจในสิ่งที่ไม่คาดคิด
สิ่งที่ซ้อมได้ก็คือสิ่งที่เราเขียนไว้ในpersonalstatement และ statement of purpose เราอาจจะมีความชัดเจนทั้งเรื่องเป้าหมายในการเรียนและอนาคตแต่ใครจะไปรู้ว่าในห้องสัมภาษณ์เราจะตื่นเต้นจนเรียบเรียงคำพูดไม่ถูกรึเปล่าดังนั้นการซ้อมจึงช่วยได้ ทั้งซ้อมพูดคนเดียว พูดให้เพื่อน ให้อาจารย์ฟังเดาว่ากรรมการจะถามอะไร แล้วลองตอบ ซ้อมบ่อย ๆ เปลี่ยนคำถามบ่อย ๆ จับ keywordsไว้ให้มั่นเผื่อตื่นเต้นมากอย่างน้อยก็ไม่หลุดประเด็นสำคัญ แล้วอย่าลืมว่าเรามีเวลาจำกัด(ประมาณ 15 นาที) และกรรมการทุกคนอาจจะไม่ได้มี background ตรงๆ ในเรื่องที่เราจะไปเรียน เราจึงต้องทำทุกอย่างให้ง่ายให้กรรมการเข้าใจได้ภายในเวลาสั้น ๆ พยายามไม่ใช้ technical terms มากเกินไป จะใช้การเปรียบเทียบ หรือยกตัวอย่างก็ได้
สำหรับสิ่งที่เตรียมไม่ได้เมื่อconversation พาไป เราสามารถ “ทำใจ” ได้ พี่ ๆ แนะนำให้คิดว่านี่คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกรรมการให้เป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ไม่ต้องกังวลว่าคำตอบของเราจะดูไม่ดี ดูไม่ฉลาดพอเพราะในห้องสัมภาษณ์จะไม่มีความคิดที่ผิดหรือถูก สิ่งสำคัญที่สุดคือความเป็นเหตุเป็นผลเราอาจจะเห็นต่างจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งก็ไม่ผิด แต่เราต้องมีตรรกะมารองรับ นอกจากนี้ พี่ๆ หลายคนแนะนำว่าการมีอารมณ์ขันก็ช่วยได้ ทำให้ทั้งตัวเราและกรรมการผ่อนคลายแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเป็นอารมณ์ขันที่มีกาละเทศะด้วยนะ
อันที่จริงแล้วการสัมภาษณ์คือการให้โอกาสกรรมการได้รู้จักตัวจริงของเราได้เห็นในสิ่งที่อ่านไม่ได้จากใบสมัคร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะทุนฟุลไบรท์ไม่ได้มองหาคนที่มีประวัติการเรียนดีเด่นที่สุด เก่งที่สุดแต่เรามองคนที่จะมาเป็น culturalambassador เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาเราจึงให้ความสำคัญกับคนที่มี soft skills (หรือที่พี่ ๆเรียกว่ามีความเป็นมนุษย์) มีความมั่นใจในตัวเองแต่ open-minded เปิดรับความแตกต่าง เข้าสังคมได้ สื่อสารเข้าใจ และเป็นคนที่มองคนอื่นมากกว่าตัวเองต้องการแบ่งปันให้สังคม เป็น Caring Leaders across Cultures ตามสโลแกนเลย
กลุ่มที่ 7: ความปลอดภัยในอเมริกา
คำถามนี้มาแรงมากในปีนี้จนกลายเป็นหนึ่งในคำถาม hothit ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะข่าวต่าง ๆ ที่ออกมาก็ฟังดูน่ากลัวอยู่แต่พี่ ๆ ทั้งศิษย์เก่าและที่กำลังเรียนอยู่ในอเมริกาขณะนี้พูดตรงกันว่า เมืองใหญ่ๆ ในอเมริกาก็เหมือนเมืองใหญ่อื่น ๆ ทั่วโลก ที่มีคนไม่ดีและอันตรายจากคนไม่ดีอยู่เพียงแต่เราต้องรู้จักระวังตัวเอง อย่าไปในที่สุ่มเสี่ยง เวลาที่สุ่มเสียงหรือทำตัวสุ่มเสี่ยงอาจจะต้องเพิ่มความระวังมากขึ้นกว่าอยู่บ้านเพราะยังไม่คุ้นชินกับบริบท ภาษาและวัฒนธรรม โดยทั่วไปหากมีอะไร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ไม่ปกติ ภัยธรรมชาติ ไปจนการปรับเปลี่ยนเวลาเรียนตามDaylight Saving Time (DST) มหาวิทยาลัยจะมีประกาศให้นักศึกษารู้ได้ค่อนข้างไวเราจึงต้องมั่นใจว่าตัวเองอยู่ใน loop ที่รับข้อมูลข่าวสารจากคณะมหาวิทยาลัย และกิจการนักศึกษาต่างชาติ เพื่อไม่ให้ตกข่าวสารสำคัญ ๆ
ในกรณีที่มีปัญหาหรือต้องการคำปรึกษาพี่ ๆ แนะนำให้ติดต่อคนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุดเพื่อจะได้รับความช่วยเหลือเร็วที่สุดเช่น ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพก็ติดต่อ student health center ของมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นเรื่องความปลอดภัย หรือเหตุด่วนเหตุร้ายให้ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา หรือ international student advisor ได้เลย นอกจากนี้ในฐานะผู้รับทุนฟุลไบรท์ เราก็จะมี studentadvisor ของ IIE คอยดูแลอยู่อีกทางนึง(แต่อาจจะอยู่ไกลกว่า advisor ในมหาวิทยาลัย)ขณะเดียวกันสถานทูตไทยที่ดีซีก็จะรับรู้ว่ามีผู้รับทุนฟุลไบรท์คนไทยอยู่ที่ไหนบ้างและคอยให้ความช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนเช่นตอนอพยพนักเรียนไทยกลับประเทศช่วงโควิดระบาดใหม่ ๆฟุลไบรท์ก็ได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูตไทยและกงสุลไทยอีก 3แห่งในอเมริกา รวมทั้งกระทรวงต่างประเทศของอเมริกาในการติดต่อประสานงานจนเป็นที่เรียบร้อยนี่คือข้อดีอย่างนึงของทุนฟุลไบรท์เพราะจะมีหน่วยงานรัฐทั้งไทยและอเมริกันเป็น backupให้อุ่นใจอยู่
ทั้งหมดนี้คือ 7 คำถามยอดฮิตของทุนTGSประจำปีนี้ ใครอยากถามอะไรเพิ่มก็สามารถถามผ่านเฟสบุ๊ค หรือจะอีเมล (tusef@fulbrightthai.org) หรือจะโทร (02 2850581-2 # 106) ก็ได้ เราจะปิดรับสมัครวันพฤหัสที่22 เมษายนนี้ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) นะ
Note: ฟุลไบรท์มีจัดอบรมเกี่ยวกับการสมัครทุนและการเรียนต่อต่างประเทศเป็นระยะหรือตามความต้องการของสถาบันในเครือข่าย โดยมีหัวข้ออบรม เช่น การเขียน statementof purpose (รวมถึงเรื่อง plagiarism) การสอบสัมภาษณ์และ cross cultures ติดตามรายข้อมูลข่าวสารได้ที่เฟสบุ๊คเพจ