สาขาอยากแนะนำคราวนี้เกิดมาได้ราว 20 ปีแล้ว แต่ก็ถือว่ายังใหม่อยู่มากสำหรับคนไทย เป็นสาขาที่ผสมผสานความรู้ด้าน computer science/data science เข้ากับhealth science และ public health เพื่อใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาและประกอบการตัดสินใจด้านการแพทย์การสาธารณสุขโดยมีเป้าหมายให้คนมีสุขภาพดีขึ้น
พี่เต้ ตนุภัทร บุญเฉลิมวิเชียร ฟุลไบรท์ปี 2021 ด้าน Biomedical Informaticsที่ University of Pittsburgh เล่าให้ฟังว่าจริง ๆ แล้ว สาขานี้ยังแตกย่อยออกไปได้อีกมากมาย เช่น Translational Bioinformatics (เพื่อทำให้การค้นพบทางชีววิทยาในห้องแลปมาใช้งานจริงในทางการแพทย์),Clinical Informatics (เพื่อใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการด้านสาธารณสุข),Public Health Informatics (เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีและการมีส่วนร่วมของคนไข้), Imaging Informatics (เพื่อพัฒนา medical imaging ให้มีความถูกต้องแม่นยำมีประสิทธิภาพและใช้งานได้) เป็นต้น
และด้วยความที่ Biomedical Informatics เป็นสหสาขาพี่เต้บอกว่าผู้เรียนเลยสามารถเลือก focus ได้หลายด้าน เช่น
- ontologyดูเรื่องคำศัพท์ที่มาใช้ในด้าน healthcare เช่น ชื่อยาชื่อโรค อาการ หรือ demographics เพื่อนำไปใช้วิจัยหรือ interoperability เพื่อเชื่อมข้อมูลโรงพยาบาลไปยังคลินิกสำหรับการรักษา ต่อเนื่อง
- human computer interaction สำหรับการพัฒนา electronic medical record (EMR)ให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
- imaging MRI, CT เพื่อวิจัยหรือสร้าง predictive model ใช้ machine learning สร้าง model วินิจฉัยโรค ดู prognosisไม่ว่าจะข้อมูล imaging, genomics, EMR ใช้ NLP learning health system สร้าง clinical decision support system สำหรับ EMR เช่น เตือนว่ายานี้ไม่ควรสั่งเพราะผู้ป่วยมีโรคไตนะ
- computational biology and bioinformatics ศึกษาเรื่อง genomics, proteomics, microbiomes
มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งก็จะมีจุดเด่นจุดเน้นที่ต่างกัน อย่าง University of Pittsburgh ที่พี่เต้เรียนอยู่ก็จะมี causal discovery center ที่หา causal diagram จาก observational data
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านBiomedical Informaticsก็เช่น
1. The Department of Biomedical Informatics, University of Pittsburgh School of Medicine
2. The Department of Biomedical Informatics (DBMI), the Columbia University Medical Center (CUIMC)
https://www.dbmi.columbia.edu/
3. The Biomedical Informatics Program, the Department of Biomedical Data Science, Stanford School of Medicine
https://med.stanford.edu/dbds/education/biomedical-informatics-graduate-program.html
4. The Department of Biomedical Informatics (DBMI), Harvard Medical School
ส่วนใหญ่แล้วคนที่มาเรียนต่อด้าน Biomedical Informatics มักจะจบปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น หมอ, biologist,bioinformatician and com biologist, computer engineer, statistician,mathematics, computer scientist, public health และอื่น ๆ เพื่อต่อยอดในสิ่งที่ตัวเองสนใจในมิติต่างๆ
พี่เต้ย้ำว่าสาขานี้เหมาะกับคนที่มองว่าhealthcare คืองานที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลอย่างมาก ตั้งแต่ knowledge ถึง system จาก molecular, clinical, ถึง public health และอยากทำให้ข้อมูลนั้นถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสุดท้ายแล้วคนใน healthcare ecosystem จะสามารถตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมพี่เต้ทิ้งท้ายว่า สาขา Biomedical Informatics นี้กว้างมากๆ จะเข้าไปตรงไหนก็ได้ และจะมีที่เหมาะสำหรับทุกคน
ขอบคุณพี่เต้สำหรับข้อมูลและคำแนะนำ ใครสนใจเรียนต่อสาขา Biomedical Informaticsลองเข้าไปหาข้อมูลได้ที่เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งได้เลย