คราวก่อนเล่าถึงสาขา Paleoclimatology/Paleoceanography ไป คราวนี้จะขอเล่าถึงญาติสนิทของสาขานี้คือ Geologyหรือภาษาไทยใช้ว่าธรณีวิทยา คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าGeology เป็นการเรียนเรื่องของดินของหินเท่านั้น แต่จริง ๆแล้วสาขานี้ล้ำและหลากหลายกว่านั้นมาก โดยเว็บไซด์วิชาการธรณีไทย (https://www.geothai.net) อธิบายว่าธรณีวิทยาเป็น “การศึกษาองค์ประกอบ โครงสร้างและกระบวนการธรรมชาติของโลกตลอดจนผลอันสืบเนื่องมาจากกระบวนการที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก” ซึ่งเป็นอะไรที่หลากหลายและโยงใยกันไปหมดแถมยังต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยาเข้าด้วยกัน
ในอเมริกา สาขา Geology จะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ Earth Science หรือ Geoscienceซึ่งมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งอาจจะมีจุดเน้นหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่แตกต่างกันแต่ก็จะเป็นการศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวหรือปัญหาอันซับซ้อนที่เกี่ยวกับ earth system ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผ่นดิน มหาสมุทร ชั้นบรรยากาศพลังงานแม่เหล็กของโลก สนามโน้มถ่วง ไปจนถึงแผ่นดินไหวและอุกทกภัย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยบางแห่งยังมีการจัดกลุ่มวิชาสำหรับนักศึกษาที่มีความสนใจเฉพาะด้านเช่น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ทางทะเลด้วยโดยนักธรณีวิทยาจะทำหน้าที่เหมือนนักสืบด้วยการตั้งสมติฐานขึ้นมาก่อนจากนั้นก็หาข้อมูลมาสรุปเป็นทฤษฎีที่มีความน่าเชื่อถือที่สุดต้องอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ซึ่งนับเป็นภาระหน้าที่สำคัญอย่างมาก เพราะยิ่งเราเข้าใจธรณีวิทยามากเท่าไหร่เราก็จะช่วยรักษาโลกของเราได้ดีเท่านั้น
พี่ฟุลไบรท์ที่ไปเรียนด้าน Geology คือพี่เกรซ อิสราภรณ์ เศรษฐ์ธนันท์ เป็นผู้รับทุน Thai Graduate Scholarship Program ปี 2017 ที่ Oregon State University แล้วได้ทุนอานันทมหิดลไปต่อปริญญาเอกที่ University of Victoria ที่แคนาดา ตอนปริญญาโทพี่เกรซเรียนด้านธรณีวิทยาที่เน้นการออกภาคสนามและใช้โดรนในการถ่ายภาพรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมีการทำแผนที่ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคนิคต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ว่าแผ่นดินไหวนี้ขนาดเท่าไหร่มีโอกาสจะเกิดขึ้นอีกมั๊ย พอต่อปริญญาเอกพี่เกรซก็ยังเน้นเรื่องแผ่นดินไหวเหมือนเดิม แต่ขยายขอบเขตเป็นแบบ multidisciplinaryคือใช้ศาสตร์ต่าง ๆ มาจับแผ่นดินไหวเช่นใช้ภาพถ่ายดาวเทียมมาวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของแผ่นดินไหว
สำหรับคนที่สนใจจะเรียนด้าน Geology ที่อเมริกา พี่เกรซแนะนำว่ามีมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลายแห่งมาก แต่ละแห่งก็เด่นกันคนละแบบพอขอให้เลือกจากภาพรวมของหลักสูตรมาเป็นตัวอย่างให้น้อง ๆ หน่อยพี่เกรซก็ใจดีจัดให้มาตามนี้ค่ะ
Caltech,Arizona State University
Universityof Washington
StanfordUniversity
Universityof California Berkeley
Universityof California Davis
Universityof California Riverside
Universityof California Santa Barbara
Universityof Nevada Reno
PennsylvaniaState University
Universityof Texas Austin
Universityof Texas A&M
และพี่เกรซยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยว่าสาขาย่อยของธรณีวิทยามีเยอะมาก ๆ น้อง ๆ สามารถติดต่อไปคุยกับอาจารย์โดยตรงโดยเลือกอาจารย์ที่ทำงานวิจัยด้านที่เราสนใจเป็นหลัก หรือเริ่มจากการอ่าน blog ของ research group ในเว็บไซต์ของอาจารย์ท่านนั้น ๆว่าสาขาย่อยนี้ ใช่สาขาย่อยที่เราชอบหรือสนใจจริง ๆ หรือเปล่า
พี่เกรซยังฝากบอกอีกว่าตัวเองเคยมี perceptionว่าการเป็นนักธรณีวิทยาต้องเก่งภาคสนาม ต้องลงภาคสนาม แต่จริง ๆ แล้วมันมีหลายทางเลือกมากๆ นักธรณีวิทยาบางท่านก็เก่ง coding หรือ modeling สุด ๆ ไปเลย เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นว่าเราต้องเป็นคน outdoor-orientedก็ได้ พี่เกรซย้ำว่าเราสามารถเฉิดฉายได้ด้วย skill set อื่น ๆ นอกจากการออกภาคสนาม
ขอบคุณพี่เกรซสำหรับข้อมูลและคำแนะนำนะคะ ใครสนใจเรื่องธรณีวิทยาลองเข้าไปติดตามพี่เกรซได้จากช่องยูทูปGraceSEEซึ่งพี่เกรซเก็บเรื่องสนุก ๆ มาเล่าในมุมมองของนักธรณีวิทยา แถมมีภาษาอังกฤษให้ด้วยได้ทั้งความรู้และคำศัพท์ไปพร้อม ๆ กัน
หรือจะเข้าไปอ่านเรื่องเล่าของพี่เกรซใน The Stories of Fulbrighters’ Impact ได้ที่
https://issuu.com/fulbrightthailand/docs/storeis_fo_fulbrighters_impact
ใครสนใจฟังอยากฟังพี่เกรซเล่าถึงการเรียนสาขา Geology และการเตรียมตัวสมัครทุนฟุลไบรท์เข้าไปดูได้ที่ Meet the Fulbrighters Series: Study Pure & Applied Science in the U.S. https://www.facebook.com/353795897307/videos/192470062421053
นอกจากนี้น้อง ๆ ยังสามารถเข้าไปดูข้อมูลการเรียน Geology ที่อเมริกาได้ที่
https://www.usnews.com/education/best-colleges/geology-major-overview
https://www.internationalstudent.com/study-geology/