Home
>
Knowledge Sharing
สาขาอยากแนะนำ #1 Paleoclimatology/ Paleoceanography

หลายคนถามว่าผู้รับทุนฟุลไบรท์เขาไปเรียนสาขาอะไรกันมีให้เลือกมั๊ย ขอย้ำกันตรงนี้อีกทีว่าเราไม่จำกัดสาขาที่สมัคร จะยกเว้นก็แค่สาขาที่มีclinical practice กับคนไข้เท่านั้นเพราะเป็นเงื่อนไขของวีซ่า J-1 (คือมีสถานะเป็นผู้รับทุนรัฐบาลสหรัฐ)ที่นี้ก็มีคำถามต่อเนื่องบ่อย ๆ ว่า แล้วจะไปเรียนอะไรดี อันนี้ตอบยากเพราะเกี่ยวกับความชอบส่วนตัว แผนการในอนาคต และความเป็นไปได้ขอแนะนำให้ลองคุยกับอาจารย์ รุ่นพี่ รุ่นน้อง และหาข้อมูลจากแวดวงต่าง ๆเพราะสมัยนี้เราไม่จำเป็นต้องเรียนตามสายที่จบมา ไม่ต้องเรียนสิ่งทีเป็น single disciplinary และไม่ได้มีแต่โอกาสงานเดิม ๆ เท่านั้น

 

แต่เพื่อให้ได้เป็นไอเดียพี่ ๆ เลยลองเลือกสาขาที่ค่อนข้างจะไม่เหมือนใครในกลุ่มผู้เคยได้ทุนฟุลไบรท์มาแนะนำกันโดยจะขอเริ่มจากสาขา Paleoclimatology/ Paleoceanography หรือแปลเป็นไทยว่าสมุทรศาสตร์บรรพกาล ซึ่งพี่แบงก์ รณกฤษฏิ์ รัตนศรีอำไพพงศ์ กำลังเรียนอยู่พี่แบงก์จบทางธรณีวิทยามา แล้ว ทำงานเป็นนักธรณีวิทยาปิโตรเลียมอยู่พักใหญ่ก่อนจะเปลี่ยนสายไปเรียนทางด้านPaleoclimatology/ Paleoceanography ที่Texas A&M University ซึ่งถือเป็นสาขาย่อยของสาย Earth and Environmental Science

 

สายนี้เขาเรียนอะไรกัน

Paleoclimatology/Paleoceanography คือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อให้เข้าใจสภาพภูมิอากาศของโลกในอดีต ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกที่จะเปลี่ยนไปในปัจจุบันอย่างที่ทุกคนรู้กัน ตอนนี้เรามีปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนพี่แบงก์อธิบายว่าความท้าทายอย่างนึงในการการวางแผนรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือการจำลองสภาพภูมิอากาศ (climate modelling) ให้มีความแม่นยำเหมือนกับการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วยข้อมูลทางสถิติในเรื่องอื่น ๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้น หรือการแพร่กระจายโรคระบาดการทำนายสภาพภูมิอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปนั้นต้องการข้อมูลทางสถิติจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตหากเรามีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ หรือไม่ครอบคลุมความเป็นไปได้ทั้งหมดการทำนายก็จะมีความถูกต้องแม่นยำน้อย โลกของเรานั้นมีอายุประมาณ 4,600ล้านปี แต่เรามีข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่ตรวจวัดจากสถานีอากาศและเทคโนโลยีตรวจวัดอื่นๆ แค่ไม่กี่สิบปี จึงเป็นหน้าที่ของนักธรณีวิทยาและนักสมุทรศาสตร์ทีต้องมาเติมข้อมูลเชิงสถิติในอดีตให้ครอบคลุมสภาพภูมิอากาศที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นอนาคตให้ได้มากที่สุดเพื่อที่เราจะได้เตรียมรับมือกับ worst-case scenarios ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด

 

มีสอนที่ไหนบ้าง

ภาควิชาที่พี่แบงก์เรียนอยู่คือภาคสมุทรศาสตร์หรือ Department of Oceanography ของ Texas A&M University ซึ่งนอกจากที่นี่แล้วก็ยังมีที่อื่นอีกหลายแห่งที่เปิดสอนวิชาคล้าย ๆ กันเพียงแต่ว่าจะเอาไปจัดกลุ่มไว้ตรงไหน ซึ่งหลัก ๆ ก็น่าจะอยู่ใน College of Geoscience หรือ Department of Earth and Planetary science

ถามพี่แบงก์ว่าแล้วที่ดัง ๆ ด้านนี้คือที่ไหน (นอกจาก A&M) พี่แบงก์ยกตัวอย่างให้มา5 แห่งคือ

1.        Scripps Institution of Oceanography ที่University of California, San Diego

2.       Woods Hole Oceanography Institution หรือ WHOI (อ่านว่าฮุย) ซึ่งมี graduate program ที่เป็น joint degree กับ MIT เรียกว่า MIT/WHOI joint program

3.       University of Washington, Seattle

4.       Rutgers university

5.       School of Ocean, Earth Science, and Technology(SOEST) University of Hawaii

 

พี่แบงก์ขยายความนิดนึงว่าคนมาเรียนสาขาOceanographyก็ไม่ได้ทำวิจัยด้าน Paleoceanography and Paleoclimate มากนัก เพราะจะออกแนวผสมธรณีวิทยา ส่วนใหญ่คนที่เรียนสายนี้ก็คือศึกษามหาสมุทรในปัจจุบันถ้าสนใจ Paleoclimate/Paleoceanography ก็อาจจะต้องตามดูว่าอาจารย์ที่ทำเรื่องนี้เลยอยู่ที่ไหน

จบแล้วจะไปไหนจะทำอะไร

พี่แบงก์คอนเฟิร์มว่าจบแล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ในสายวิชาการเท่านั้นจะอยู่ในภาครัฐ ภาคเอกชนหรือหน่วยงานระหว่างประเทศก็ได้ เช่นธนาคารโลกมีตำแหน่ง climate change analyst climate change technicianเพราะทุกวันนี้เรามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติว่าจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหนยังไงจึงต้องมีการทำ risk analysis ในทุก ๆ เรื่อง โดยคนที่อยู่ในสายEarth and Environmental Science ก็จะวิเคราะห์กระบวนการทางธรรมชาติที่ตัวเองศึกษาว่ามี uncertainty ยังไงบ้าง แล้วจะสามารถตีความออกมาเป็นตัวเลขเป็นสถิติได้ยังไง ซึ่งความรู้และทักษะนี้เป็นที่ต้องการของหลายหน่วยงานประเทศไทยเองก็น่าจะมีความต้องการคนที่สามารถทำ risk analysis มากขึ้นในอนาคต

 

เนื่องจากพี่แบงก์มีประสบการณ์ทำงานกับบริษัทน้ำมันเลยอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของเรายังเป็นแบบพึ่งพาพลังงานฟอสซิลอยู่เราต้องการความสมดุลของนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่นอกและใน oil and gas industry เพื่อหาทางเปลี่ยนตัวเองจาก carbon-based ไปสู่ renewable/alternative energy คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมจะสามารถสร้างแรงขับเคลื่อนจากข้างในทำให้บริษัทใหญ่ ๆ ที่มีเงินทุนเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

 

พี่แบงก์สรุปสั้น ๆ ว่าคนเรียนสาขานี้ไม่ต้องกลัวจะไม่มีงานทำ เพียงแต่งานจะเปลี่ยนไปตาม conditionของโลกของสังคมว่าอะไรเป็นปัญหา เป็นสิ่งที่เราควรจะแก้ และอะไรเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ

 

สาขาน่าสนใจใกล้เคียง

เนื่องจากตอนนี้ไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้คนตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนเพราะกิจกรรมของมนุษย์เท่าไหร่แล้วเพราะมีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานมาสนับสนุนมากมาย แต่สิ่งที่พี่แบงก์มองว่าน่าจะเป็นความท้าทายคือการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ให้คนทั่วไปเข้าใจรวมทั้งการเชื่อมองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับนโยบายต่าง ๆ ซึ่งวิชา science communication หรือ research communication นี้ยังไม่มีข้อมูลว่ามีเปิดสอนเป็นหลักสูตรปริญญารึเปล่าแต่ตอนนี้หลายมหาวิทยาลัยมีเปิดโปรแกรม Climate School ด้าน Climate Change and Policy เช่นที่ Scripps Institution of Oceanography ก็สอนในระดับปริญญาโท ส่วน Columbia universityก็เพิ่งจะเปิด Climate School ปีนี้เลย

 

ทั้งสองสาขานี้น่าสนใจมากพี่ ๆ ขอรับไปเป็นการบ้าน หาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจะเอามาเล่าให้ฟังกันทีหลังสำหรับตอนนี้ขอขอบคุณพี่แบงก์ สำหรับข้อมูลค่ะ

 

ใครสนใจฟังอยากฟังพี่แบงก์เล่าถึงการเรียนสาขาPaleoclimate/Paleoceanography และการเตรียมตัวสมัครทุนฟุลไบรท์ เข้าไปดูได้ที่ Meet the Fulbrighters Series: Study Pure & Applied Science in the U.S. https://www.facebook.com/353795897307/videos/192470062421053