สื่อมวลชนเป็นอาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงมากในช่วง10 ปีมานี้ แต่พอฟังจากพี่ ๆ ที่ทำงานอยู่ในแวดวง Communication &Journalism ของฟุลไบรท์แล้วเราพบว่าสิ่งที่เปลี่ยนไปหลัก ๆ คือเทคโนโลยีและช่องทางในการสื่อสารส่วนหัวใจของการเป็นสื่อมืออาชีพนั้นยังคงอยู่ เพียงแต่คนที่ทำงานด้านนี้จำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของโลกในปัจจุบัน
งานสายสื่อสารมวลชนเหมาะสำหรับคนที่มีพลังชีวิตล้นเหลือมีความอยากรู้อยากเห็น ชอบตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว อยากเล่าอยากแบ่งปันไม่ชอบนั่งทำงานประจำในออฟฟิศ เพราะเป็นงานที่ไม่อยู่นิ่ง เป็นงานที่สามารถตั้งคำถามได้กับทุกคนทำให้ได้เรียนรู้จากผู้คนหลากหลายวงการ มีเรื่องใหม่ ๆ เข้ามาตลอดทำให้ทุกวันของเราไม่เคยซ้ำกัน
นอกจากความชอบส่วนตัวแล้วคนทำงานอาชีพนี้จำเป็นต้องมีทักษะสำคัญชุดนึง คือ การเป็นนักเล่าเรื่อง (storytelling)ที่สามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจและสนใจไม่ว่าจะเป็นการเขียนการพูด หรือการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ มี research skills เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มี interpersonal skills ที่ใช้ในการติดต่อประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆรวมทั้งแหล่งข่าว และที่สำคัญมาก ๆ ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร คือ ต้องมี analytical and critical thinking skill รู้จักเลือกข่าว สามารถแยกแยะข้อมูล factและ fake ออกจากกันมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเพราะบางครั้งเราอาจจะต้องรายงานข่าวที่ไม่ได้ทำเองถ้าไม่เท่าทันก็อาจจะตกเป็นเครื่องมือของสื่อต่างชาติได้ นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่พี่ๆ ย้ำก็คือเรื่องความรับผิดชอบและความใส่ใจของสื่อซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การสะกดคำและการใช้คำที่ถูกต้องเหมาะสม ไปจนถึงการ quote คำพูดคำภาษาอังกฤษ หรือ technical terms ต่าง ๆ ซึ่งหากตัวเองไม่เข้าใจก็อย่าปล่อยผ่านเพราะอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดสับสนในวงกว้าง
ถ้าใครสนใจจะเรียนต่อสายcommunication and journalism แล้วอเมริกาก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก แม้ว่าพี่ ๆ แต่ละคนจะจบจากคนละที่ คนละปีแต่ก็พูดตรงกันว่า การเรียนที่อเมริกาเน้นการลงมือปฏิบัติซึ่งตรงกับ natureของงานสื่อ โดยหลักสูตรจะให้แก่นหรือทักษะหลัก ๆไว้เป็นเครื่องมือต่อยอด เช่น ทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ ขณะที่อาจารย์ก็จะมีnetwork ในวงการหรืออยู่ในวงการเองทำให้เข้าถึงวงในได้ง่ายและเนื่องจากอเมริกามีความก้าวหน้ากว่าเรามาก การเรียนสาขานี้จึงเหมือนกับเอาตัวเองไปอยู่ในโลกอนาคตได้เห็นว่าเทรนด์จะไปทางไหน จะมีความท้าทายอะไรต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ที่อเมริกามีการพูดถึงเรื่องการปรับตัวของสื่อหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่สิบกว่าปีก่อนหรือเรื่องการเปิดเผยข้อมูลของรัฐที่เป็นระบบและตรวจสอบได้
นอกจากนี้พี่ ๆ ยังแนะนำว่า ถ้าอยากจะก้าวหน้าในอาชีพสื่อเราอาจจะต้องปรับตัวให้มีความรู้และทักษะที่หลากหลายขึ้นเช่นถ้าสนใจทำข่าวเฉพาะด้านอย่างด้านเศรษฐกิจ ก็ควรมีความรู้ด้านนั้น ๆพอที่จะนำมาวิเคราะห์ได้ในระดับที่ลึกขึ้นหรือหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวเลข สถิติเพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนการรายงานข่าว และยิ่งถ้าสามารถผลิตสื่อสั้น ๆ ด้วยตัวเองครบจบในที่เดียวได้ก็จะทำให้เราดูโดดเด่นขึ้นมา เพราะสมัยนี้มีการผลิตสื่อเข้า digital platform กันมาก
ใครสนใจฟังฉบับเต็มของMeet the Fulbrighters Series: Study Communication & Journalism in the U.S.A.เข้าไปฟังได้ที่ https://www.facebook.com/353795897307/videos/1107110119787989