เดือนมีนาคมที่ผ่านมาฟุลไบรท์มีจัด virtualsession “Meet the Fulbrighters Series”ทั้งหมด 10 ครั้ง แยกเป็นสาขาต่าง ๆ บวกกับการเรียนระดับปริญญาเอกที่อเมริกาและก็ได้สรุปประเด็นสำคัญ ๆที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทุนฟุลไบรท์ไปในโพสก่อนหน้านี้แล้ว ทีนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆที่พี่ ๆ คิดว่าก็น่าสนใจ เลยดึงออกมาเป็น RECAPไว้ให้อ่านกัน เริ่มจากสาขาสถาปัตย์ก่อนตามลำดับในซีรีส์
สิ่งที่พี่ๆ สายสถาปัตย์ให้การตรงกันคือ การเรียนสถาปัตย์ที่อเมริกานั้น
1. “อ่านเยอะมากกกกกก”เรียนหนักนั้นเป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วสำหรับปริญญาโทไม่ว่าจะสาขาไหน แต่ที่ชาวสถาปัตย์ทุกคนต้องปรับตัวค่อนข้างมากคือการอ่าน ซึ่งทั้งเยอะทั้งหลากหลาย ไม่ได้มีแค่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตย์แต่มีทั้งจิตวิทยา การเมือง มานุษยวิทยา เศรษฐกิจ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม โลกร้อนความเท่าเทียมกัน ฯลฯ ซึ่งจะข่วยให้นักศึกษามีมุมมองกว้างขึ้น เห็นภาพใหญ่ สามารถนำความรู้ตรงโน้นตรงนี้มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบได้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าเราจะเรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ ผังเมืองนโยบาย หรือแม้แต่Corporate architecture ก็จะมีความพันพัวกันในระดับนึงและยังพันพัวกับส่วนอื่น ๆ ของสังคม (โลก) ด้วย ดังนั้นชาวสถาปัตย์จึงไม่ควรจำกัดความรู้อยู่แค่เรื่องspace anddesign เท่านั้น
2. “ไม่จำเป็นต้องจบสถาปัตย์ก็ต่อโทสถาปัตย์ได้”พี่ ๆ เล่าว่ามีเพื่อนร่วมชั้นที่มาจากหลากหลายfield มากมีทั้งวิศวกร developerนักธุรกิจ นักรัฐศาสตร์ ฯลฯ คือเป็นคนที่อยากรู้เกี่ยวกับการออกแบบเพื่อนำไปปรับใช้กับงานของตัวซึ่งถ้าใครจบสถาปัตย์มาก็สามารถลงเรียนหลักสูตรระยะสั้น 1-2 ปีได้แต่ถ้าไม่เคยมีพื้นฐานมาก่อนก็จะไปเรียนในหลักสุตร 3 ปี โดยเป็นการปูพื้น 1 ปี ทั้งนี้ทั้งนั้นการเรียนในห้องที่มีนักศึกษาจากหลากหลายวิชาชีพถือว่าเป็น plus points มากๆ เพราะยิ่งทำให้เปิดโลก ได้รู้เรื่องอื่น ๆ ที่อาจจะไม่เคยคิดว่ามีความสัมพันธ์กับการออกแบบเลยได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เรียนรู้การตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์โดยเฉพาะจากมุมมองอื่น ทำให้เห็นความเชื่อมโยงมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เห็น standpoint ของตัวเองชัดขึ้นด้วยแต่ยังไงก็ตาม การมีพื้นสถาปัตย์มาก่อนจะทำให้น้อง ๆ “คิดเป็นภาพ” กว่าสายอื่น คืออาจจะเขียนสู้เขาไม่ได้แต่กินขาดเรื่องการสำเสนอ เพราะชาวสถาปัตย์มีความสามารถในการนำเสนอเรื่องราวที่ซับซ้อนออกมาเป็นภาพได้
ขอเสริมว่าการเรียนที่อเมริกานั้นจะเน้นให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์เพื่อต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ดังนั้นการที่เรามีประสบการณ์ทำงานก่อนไปเรียน (ซึ่งถามกันมามากว่าจำเป็นมั๊ย)จะทำให้เราสามารถคลิ๊กไอเดียได้เร็ว มี contributionให้กับคลาส และ “ได้”มากกว่าคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำงาน
อีกเรื่องนึงคือการเรียนระดับ postgraduateที่อเมริกาเปิดกว้างมากไม่จำเป็นต้องจบตรงสายก็ได้ มีคนจบวรรณคดีไปต่อหมอยังได้แต่อาจจะต้องเสียเวลาปูพื้นกันหน่อย เรียนหนักหน่อย และสำหรับการสมัครทุนโดยเฉพาะทุนฟุลไบรท์เราก็จะต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้นมาประกอบด้วย
ใครสนใจฟังฉบับเต็มของMeet theFulbrighters Series: Study Architecture in the U.S.A.เข้าไปฟังได้ที่ https://www.facebook.com/FulbrightThailand/videos/1387068568303028