เนื่องจากตอนนี้ทุน Thai GraduateScholarship Program (TGS) เปิดให้ผู้สมัครหลักสูตรปริญญาเอกด้วย (แต่ไม่ใช่โทควบเอกนะ)เราก็เลยได้รับคำถามเกี่ยวกับการสมัครและการเรียนปริญญาเอกที่อเมริกาเข้ามาเยอะซึ่งก็ได้พี่ ๆ ฟุลไบรท์ที่กำลังเรียนเอกอยู่ที่โน่นมาช่วยกันตอบในซีรีย์วันที่ 5มีนา โดยสรุปใจความสำคัญออกมาได้ 3 ประเด็นหลัก ๆ คือ
1. การเลือกมหาวิทยาลัย
การเรียนปริญญาเอกที่อเมริกาปกติจะใช้เวลานานกว่าที่อังกฤษหรือยุโรปเพราะจะมี course work ด้วย และสถานะของเราก็จะออกไปทาง researcher มากกว่าจะเป็นนักเรียน postgraduateเพราะจะต้อง leadโปรเจควิจัยของตัวเองโดยทำงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษานั่นหมายความว่าเราต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น อยู่กับหัวข้อวิจัยนั้น พร้อมกับอาจารย์ที่ปรึกษาคนนั้นเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน เราจึงต้องแน่ใจว่าเราจะอยู่ได้และอยู่อย่างมีความสุข
อย่างแรกสุดคือการเลือกสถานที่อเมริกาเป็นประเทศที่ใหญ่มาก แต่ละที่ก็มีความแตกต่างกันมหาวิทยาลัยที่อยู่ในรัฐเดียวกันแต่คนละมุมก็จะมีอะไรที่ไม่เหมือนกันเวลาเลือกมหาวิทยาลัยจึงอย่าดูแต่ที่ ranking ให้ดูที่ตัวโปรแกรมดูว่าโปรแกรมที่ไหนตอบโจทย์เรามากที่สุด จากนั้นก็ดูที่สังคม lifestyle ค่าครองชีพและแม้แต่สภาพอากาศว่าเหมาะกับเรามั๊ย
เมื่อมีตัวเลือกในใจแล้ว พี่ ๆ แนะนำว่าควรลองติดต่ออาจารย์ที่เราสนใจก่อนดูว่าเขามีที่สำหรับเรารึเปล่า และเขาสนใจหัวข้อของเรามั๊ย ถ้าความสนใจตรงกันก็มีแนวโน้มว่าเขาจะรับเราแต่ถ้าไม่ได้รับคำตอบ ให้ลองส่งใหม่ อย่าเพิ่งถอดใจ เพราะปกติแล้วพวกอาจารย์นักวิจัยจะยุ่งมากอีเมลอาจหลุดรอดสายตาไป หรือถ้าไม่ได้รับคำตอบจริง ๆ ก็อย่าท้อ เพราะมีอาจารย์บางคนจะติดต่อกลับเฉพาะคนที่ได้รับเลือกเข้าโปรแกรมแล้วเท่านั้น
แถมนิดนึงจากซีรียส์ตอนอื่นที่พูดถึงอาจารย์ที่ปรึกษามีคำแนะนำว่าให้ลองเข้าไปหาข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์จากแหล่งต่าง ๆ ก่อนโดยเฉพาะจากกระทู้ของนักศึกษาที่พูดถึงอาจารย์ เพื่อดูว่าอาจารย์ที่เราสนใจจะมีประเด็นอะไรรึเปล่าเช่น บางคนมีชื่อเสียงมาก มีงานเยอะมาก จนไม่มีเวลาให้กับนักศึกษา เรื่องเล็ก ๆน้อย ๆ เหล่านี้ก็จะช่วยให้การตัดสินใจของเรารอบคอบขึ้น
2. การเขียน research idea
หลายคนกังวลว่าจะเขียน research idea ยังไง ต้องไปหา referenceหาข้อมูลการทำวิจัยมาประกอบต้องระบุถึงตัวอย่างการเก็บข้อมูลเป็นเรื่องเป็นราวแค่ไหน ตรงนี้ขอบอกว่าสำหรับทุนฟุลไบรท์แล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือ core ของงานวิจัย เป็น scopeof work ว่าจะทำวิจัยเรื่องนี้ไปทำไมมันสำคัญยังไง มีประโยชน์ต่อสาขาที่เรียนและส่วนรวมแค่ไหนซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องสื่อสารคุณค่าของตัวเองและสิ่งที่ตั้งใจจะทำออกมาให้ชัดเจนภายใน400 คำ ส่วนเรื่อง experimental model, research methodology และรายละเอียดปลีกย่อยนั้นยังไม่ต้องระบุชัดเจน เพราะในความเป็นจริงแล้ว มันจะปรับเปลี่ยนไปตามอาจารย์ที่ปรึกษา
เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็อย่าอ่านคนเดียวควรให้คนทั้งจากใน filed และนอก filed ช่วยอ่าน เพื่อให้ได้หลายมุมมองเพราะกรรมการจะมาจากสายอื่นด้วย ดังนั้น เราจะต้องสื่อสารให้คนนอก field เข้าใจขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ general มากจนทำให้ research idea ของเรา plain เกินไปนอกจากนี้ยังจะต้องเกลาแล้วเกลาอีกเพื่อกรองส่วนที่เป็นน้ำออกให้เหลือแต่ใจความสำคัญเพราะมีเนื้อที่แค่ 400 คำ ที่สำคัญคือต้องเป็นตัวของตัวเองแม้ว่าจะให้คนอื่นช่วยวิจารณ์หรือช่วยเกลาภาษาอังกฤษให้ แต่ก็จะต้องไม่แก้จนเรากลายเป็นคนอื่นไป
3. ค่าใช้จ่าย
ปกติแล้วคนที่สมัครทุนปริญญาเอกจะพอประมาณได้ว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไหร่ทุนฟุลไบรท์ cover ให้แค่ไหน และความสามารถทางการเงินของเราอยู่ระดับใดดังนั้นเราจะสามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้ตั้งแต่ก่อนสมัครเรียน โดย
· หาแหล่งทุนในไทย เช่นหน่วยงานต้นสังกัด ทุนจากภาคเอกชน หรือทุนรัฐบาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเช็คว่าแหล่งทุนนั้นๆ มีเงื่อนไขอะไรที่ขัดกับฟุลไบรท์หรือไม่ และสามารถ match กันได้โดยไม่มีปัญหาภายหลัง
· แจ้งอาจารย์ทางโน้นตั้งแต่ยื่นใบสมัครเรียนว่าเราต้องการทุนเพิ่มเติมซึ่งปกติมหาวิทยาลัยของอเมริกาแต่ละแห่งจะมีทุนของภาควิชา ทุนวิจัยของอาจารย์ และแหล่งทุนอื่นๆ แตกต่างกันไปตามโครงสร้างการเงินของแต่ละที่ถ้าอาจารย์สนใจหัวข้อวิจัยของเราจริง ๆ เขาจะพยายามช่วยหาทุนมาสนับสนุนให้จนเรียนจบซึ่งพออยู่ที่โน่นแล้ว เราก็ควรต้องทำตัวดี ๆ ให้มีเครดิตในสายตาอาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้วางใจว่าให้ทุนเราแล้วโอเค และอาจจะช่วยแนะนำโอกาสทุนอื่นๆ ให้อีกด้วย
· แจ้งฟุลไบรท์ตั้งแต่แรก เมื่อถึงเวลาplacement ฟุลไบรท์ก็จะคุยกับ IIEให้ช่วยดูทุนของมหาวิทยาลัยให้ด้วย บางกรณี IIE จะจัดการเจรจาขอทุนเพิ่มให้โดยที่เราไม่ต้องติดต่อกับมหาวิทยาลัยเองเลย
เมื่อไปถึงแล้วเรายังสามารถหาแหล่งทุนเพิ่มเติมเองได้ อย่ารอให้อาจารย์ช่วยอย่างเดียวเพราะบางครั้ง proposal ของอาจารย์ก็อาจจะไม่ผ่านการอนุมัติหรือมีเหตุไม่คาดฝันจนต้องระงับโครงการ พี่ ๆ แนะนำว่าให้คุยกับหลาย ๆ คน หลาย ๆโอกาส ให้รู้กันทั่ว ๆ ว่าเรากำลังหาทุนเพิ่มเติม ซึ่งพี่หลายคนก็ได้งานพิเศษมาจากกลุ่มเพื่อนนี่เอง
อันที่จริงแล้วนักศึกษาปริญญาเอกโดยมากก็จะได้เป็น Teaching Assistant (TA) หรือ ResearchAssistant (RA) ให้กับคณะซึ่งก็จะมีเงินมา support ในระดับนึง บางคนไม่จำเป็นต้องทำงานอื่นเลยก็อยู่ได้แต่ไม่ว่าจะเป็น TA RA หรืองานพิเศษอื่น ๆ เราก็ต้องมีการวางแผนที่ดีเพราะต้องแบ่งเวลาไปเตรียมงานอื่นนอกเหนือจากงานวิจัยหลักของเรา
ฟังแล้วรู้สึกมั๊ยว่าการเรียนต่อปริญญาเอกที่อเมริกาไม่ได้ยากเกินไป ถ้ามีการวางแผนและการหาข้อมูลที่ดี
ใครสนใจฟังฉบับเต็มของMeet theFulbrighters Series: Doctoral Studies in the U.S.เข้าไปฟังได้ที่ https://www.facebook.com/353795897307/videos/1018096972055863