สถานการณ์โควิดทำให้วงการการศึกษาปั่นป่วนกันน่าดูทั้งครูและนักเรียนต่างก็ต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินต่อไปได้โรงเรียนบางแห่งและมหาวิทยาลัยบางที่ยกชั้นเรียนไปไว้บนออนไลน์ทั้งหมด บางที่ก็ใช้วิธีแบบ flip classroom โดยให้นักเรียนสลับกันมาเรียน ทั้งแบบ onlineและ onsite แต่ไม่ว่าจะวิธีไหนก็ปวดหัวกันถ้วนหน้าชาวฟุลไบรท์ที่เคยรับทุน Junior Research Scholarship Program (JRS) จากสายภาษาและศึกษาศาสตร์ก็เลยมารวมตัวกันเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ความอึดอัดคับข้องใจ และแนวทางแก้ปัญหาที่ครูคนอื่นอาจจะนำไปปรับใช้ได้ซึ่งสรุปเป็นประเด็นใหญ่ได้ประมาณนี้
1. ยอมรับความจริง
แรกสุด สำคัญสุดคือเราทุกคนต้องทำใจและรับให้ได้ว่าตอนนี้และต่อจากนี้ไปการเรียนการสอนจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว การพยายามทำทุกอย่างให้เป็นปกติ เช่นการเช็คชื่อ การให้ทุกคนเปิดกล้องทำข้อสอบแล้วครูนั่ง monitor เป็นการปฏิเสธความจริงและทำให้ทั้งครูและนักเรียนเครียดที่สำคัญคือสร้างความไม่เป็นมิตรระหว่างกันโดยใช่เหตุ บรรยากาศที่อบอวลไปด้วยประจุลบจะทำให้ทุกคนขาดmotivation และเหนื่อยมาก
2. บทบาทใหม่ของครู
เมื่อต้องเรียนด้วยตัวเองมากขึ้นนักเรียนก็ต้องการครูที่ช่วยทำหน้าที่เป็น facilitator หรือcoach มากขึ้นเพราะแม้นักเรียนจะเข้าถึงเนื้อหาบทเรียนและข้อมูลได้ด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องการ feedback จากครูที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่า ซึ่งหากครูไม่มองว่าเทคโนโลยีเช่น YouTube หรือ google เป็นคู่แข่งในด้านcontent แต่เป็นผู้ช่วยด้าน resource ให้ทั้งครูและนักเรียนก็จะสามารถผันตัวเองเป็น activity manager จัดกิจกรรมเรียนรู้ให้นักเรียนโดยใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่มากมายใน internet
และเนื่องจากภาระและความเครียดที่เพิ่มขึ้นนักเรียนจึงต้องการพึ่งพาครูมากขึ้นสำคัญมากที่ครูจะทำให้นักเรียนรู้สึกว่ามีคนคอย support อยู่โดยสามารถติดต่อได้หลายช่องทาง มีการคอยเช็คเป็นระยะว่ามีปัญหารึเปล่าต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง ซึ่งในสถานการณ์พิเศษนี้ ครูอาจจะต้องทำมากกว่าหน้าที่เพื่อรักษานักเรียนไว้ในระบบการศึกษาเพราะถ้าหลุดจาก class ไปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะได้กลับมาเมื่อไหร่
3. เทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นประโยชน์มากหากรู้จักใช้ถ้าเราก้าวผ่านความรู้สึกต่อต้านในช่วงแรก ๆ ได้ ที่จริงเทคโนโลยีช่วยเปิดพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูและนักเรียนครูเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จากนักเรียน ส่วนนักเรียนก็เรียนรู้เกี่ยวกับ digital literacy จากครูขณะที่ทั้งครูและนักเรียนใช้เทคโนโลยีช่วยให้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ ไปพร้อม ๆกัน โดยอาจจะมีการทำ online community บน Facebook หรือ LINE เพื่อเสริมประสบการณ์เรียนรู้คู่ขนานกันไปด้วยแต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็เป็นเพียงตัวเสริมเท่านั้นครูยังต้องเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนที่ความสามารถแตกต่างกันได้เรียนในสิ่งที่ต้องเรียนเหมือนกัน
4. การจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนออนไลน์ทำให้นักเรียนมีข้อจำกัดและมีความเครียดมากกว่าปกติครูไม่จำเป็นต้องใช้สื่อหลากหลายชนิด แต่ต้องให้เข้าถึงง่าย กระบวนการไม่ซับซ้อนเนื้อหาต้องกระชับ ตรงประเด็น ชัดเจนเข้าใจง่าย มีเวลาให้นักเรียนพัก ทำความเข้าใจสามารถกลับมาดูใหม่ได้หลายครั้งและในเวลาที่สะดวก ส่วนการสอนในชั้นเรียนก็ควรต้องปรับให้เป็น active learning เน้นกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กันได้เรียนรู้ร่วมกัน และได้ peer feedback
อันที่จริงช่วงนี้เป็นโอกาสดีในการจัดการเรียนการสอนแบบ project-based learning หรือ phenomenon-based learning โดยให้นักเรียนทำโครงการทั้งแบบเดี่ยวแบบกลุ่มจะให้นักเรียนเลือกหัวข้อที่สนใจเองก็ได้วิธีนี้จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ ต้องเชื่อมโยงเนื้อหาด้านต่างๆ มีการคิดวิเคราะห์เชิงลึก
5. การวัดผล
การวัดผลด้วยการท่องจำแบบเดิม ๆจะกลายเป็นภาระของครูและนักเรียน นักเรียนรู้สึกเหมือนถูกจับผิดครูก็รู้สึกว่าต้องจับผิด บรรยากาศจะไม่เป็นมิตร ทำให้เครียดและเสีย motivation กันทั้งสองฝ่ายในเมื่อการเรียนการสอนเปลี่ยนไป วิธีการวัดผลก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยเป็นโอกาสอีกเช่นกันที่เปลี่ยนวิธีวัดผลเป็นแบบเน้น higher thinking เช่นการคิดวิเคราะห์ การทำโครงการที่บูรณาการความรู้และทักษะหลายด้าน นอกจากนักเรียนจะไม่กดดันครูก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้นเพราะสามารถทำอะไรได้มากกว่าการสอนเรื่องเดิมๆ ซ้ำ ๆ
6. ไม่กดดันตัวเอง
สถานการณ์ในตอนนี้ทำให้ครูต้องทำทุกอย่างในเวลาที่จำกัดซึ่งเป็นเรื่องที่เหนื่อยมาก ดังนั้นการตั้งความคาดหวังกับตัวเองและนักเรียนให้สูงเกินไปจะเป็นการกดดันตัวเองควรคำนึงถึงความสมดุลในด้านต่าง ๆ สร้างความหลากหลายในการเรียนการสอน เช่นใช้สื่อจริงบ้าง ใช้เทคโนโลยีบ้าง จริงจังบ้าง เล่น ๆ บ้างอย่างคาดหวังว่าทุกอย่างจะไร้ที่ติ เมื่อครูไม่เครียดบรรยากาศการเรียนก็จะผ่อนคลายไปด้วย
สุดท้ายต้องขอให้กำลังใจกับครูและนักเรียนทุกคนฟุลไบรท์เชื่อว่าเราจะผ่านมันไปได้ด้วยดี...ด้วยกัน
ใครสนใจฟังฉบับเต็มของJRS Alumni Forum: ปรับตัวอย่างไรให้การเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ได้ผลลัพธ์เต็มร้อย เข้าไปฟังได้ที่
https://www.facebook.com/fulbrightthailand.tusef/videos/4426661737367884