Home
>
Knowledge Sharing
Depression Decoded: รู้จัก ระวัง และรับมือโรคซึมเศร้า

Mental Health and Depression: เปิดประเด็นให้เป็นเรื่อง

ผ.ศ.เบญจวรรณอุบลศรี

ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์)

 

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้นในกลุ่มนักศึกษาโดยเฉพาะในช่วงหลายปีนี้และกลายเป็นปัญหาสำคัญที่สถาบันการศึกษาต้องให้ความสนใจและแก้ไขอย่างเร่งด่วนจากประสบการณ์ของมูลนิธิฯ ผู้รับทุนฟุลไบรท์มีภาวะเครียด วิตกกังวลและซึมเศร้ามากขึ้นอย่างมีนัยยะไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ทั้งนี้ผู้รับทุนที่มีปัญหาและเคยผ่านการรักษามาแล้วหลายคนจะคิดว่าตัวเองหายขาดแล้วและมองข้ามปัจจัยที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก เช่น culture shock ความรู้สึกโดดเดี่ยวความสัมพันธ์ ฯลฯ จึงไม่ได้ให้ความสนใจกับอาการเตือนต่าง ๆจนสถานการณ์รุนแรงกว่าจะควบคุมได้ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ครบถ้วน หรือต้องถอนตัวจากการรับทุน

 

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าราว322 ล้านคนทั่วโลกในปี 2017ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกฝั่งตะวันตกโดยมักจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งยังเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆที่นำไปสู่การเสียชีวิต อย่างไรก็ตามมากกว่าครึ่งของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ในสหรัฐอเมริกาอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุตั้งแต่ 12-34 ปีทำให้อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้เป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกและเกือบ 50%ของคนที่ฆ่าตัวตายต่างก็มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า

 

ในอเมริกานักศึกษามหาวิทยาลัยก็มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยกลุ่ม LGBTQ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการเรียนและการเข้าสังคมบริการด้านสุขภาพจิตของมหาวิทยาลัยจึงมีมากขึ้นนอกจากเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการช่วยรักษาจำนวนนักศึกษา (retentionrate) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยทางอ้อมด้วย อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยจำนวนมากประสบปัญหาด้านงบประมาณและบุคคลากรในการจัดบริการดังกล่าวจึงมีความพยายามใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่นการให้คำปรึกษาออนไลน์และโปรแกรมการบำบัดด้วยตัวเองผ่านโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้นักศึกษายังมีการรวมกลุ่มกันเพื่อรณรงค์ให้เกิดการตระหนักรู้และการรับมือกับโรคซึมเศร้าด้วย

 

Defining Depression: เข้าใจโรคซึมเศร้า

นพ.สรวิศวัยนิพิฐพงษ์

ฝ่ายจิตเวชศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นผู้มีปัญหาทางจิตอาจเป็นเพียงการที่ไม่สามารถเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ และจะมีปัญหาในการมองตนเองร่วมด้วยเช่น ไม่ชอบสิ่งที่ตัวเองเป็น ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าจะต้องแยกให้ออกก่อนว่าเป็นแค่อารมณ์ซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าถ้าเป็นโรคจะมีอาการนานกว่าแค่อารมณ์ซึมเศร้า นอกจากนี้ โรคซึมเศร้าอาจเป็นผลจากกรรมพันธุ์หรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเช่น วัยทอง อาการก่อนมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การสูญเสียครั้งใหญ่หรือความผิดปกติของสารสื่อประสาท หากได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถรักษาได้

 

ทางการแพทย์ถือว่าโรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มอาการชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นแค่ 1-2 วันแล้วหายเรียกว่าเป็นอารมณ์เศร้า แต่ถ้าเป็นโรคจะมีอาการ คือ มีอารมณ์ซึมเศร้าหม่นหมองหมดสนุก อ่อนเพลีย เชื่องช้า นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร รู้สึกตัวเองไร้ค่านึกถึง/คิดฆ่าตัวตาย โดยจะมีอาการหลาย ๆ อาการเกือบทุกวันติดกันเกิน 2 สัปดาห์อย่างไรก็ตามโรคซึมเศร้าในแต่ละคนจะต่างกัน บางครั้งอาการบอกเหตุอาจจะไม่โยงถึงภาวะซึมเศร้า  เช่นเหนื่อยล้าหรือเบื่อการรักษาโรคซึมเศร้าต้องอาศัยเวลาเพราะเป้าหมายของการรักษาคือให้กลับมาทำงานได้ตามปกติเป็นคนเดิม  ไม่ใช่แค่รักษาให้หายเศร้า กลุ่มที่เป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุดคือกลุ่มช่วงอายุ18 – 20 ปี รองลงมาคือ 30 – 35 ปี

 

สัญญาณของโรคนี้คือเศร้าบ่อยนาน ทำงานแย่ลง มีความเศร้าที่ไม่เข้าใจสาเหตุ งอน/เศร้าไม่มีเหตุผลพยายามปรับตัวแล้วแต่ไม่ดีขึ้น ภายนอกอาจดูร่าเริง ทำให้คนรอบข้างดูไม่ออก  ทั้งนี้   อาการซึมเศร้าสัมพันธ์กับทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม การอมรมเลี้ยงดูที่สร้างความกดดันให้ลูกเช่น การให้ความสำคัญกับลูกชายมากกว่าลูกสาว การเลี้ยงดูที่เน้นการลงโทษมากกว่าการชมเชยครอบครัวที่เป็น perfectionist   นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้แก่ บุคลิกภาพบางอย่าง เช่น เป็นคนขี้เหงา  หรือได้รับยาบางอย่าง เช่น เคมีบำบัด ยาลดความดันเลือด ยาต้านวัณโรคยาปฏิชีวนะ วิธีการป้องกันโรคซึมเศร้าของแต่ละคนจะต่างกันเพราะเกิดจากปัจจัยต่างกันการรับมือกับภาวะซึมเศร้าจึงต้องทราบปัจจัยเสี่ยง สิ่งที่สามารถกระตุ้น ส่งเสริมและป้องกันปัจจัยเหล่านี้ได้

 

โรคซึมเศร้าไม่ใช่ความอ่อนแอแต่เป็นความพยายามในการเข้มแข็งเพื่อขจัดปัญหา เมื่อถึงจุดหนึ่งที่พยายามมากเกินไปจึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น  ปัจจุบันพบว่าคนไทย 1.5 ล้านคน (คิดเป็นอัตรา 1ต่อ 30) เป็นโรคซึมเศร้า กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ได้แก่ พวกที่มีลักษณะส่วนตัวในทางลบเช่น มองโลกในแง่ร้าย ชอบโทษ/ตำหนิตนเอง ไม่ภูมิใจหรือมั่นใจในตนเอง เคยผ่านประสบการณ์ที่เลวร้ายเช่น ถูกล่วงละเมิด สูญเสีย มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ มีปัญหาการเงิน คนครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ากลุ่ม homosexual เจ็บป่วยโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ใช้ยาเสพติดมีโรคร้าย/โรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว หรือได้รับยาบางชนิดที่ส่งผลทางอารมณ์อย่างต่อเนื่อง  

 

กรมสุขภาพจิตได้จัดทำแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าเบื้องต้น2 ข้อ (www.prdmh.com/แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า-2-คำถาม-2q.html) และ 9ข้อ (www.prdmh.com/แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html) เพื่อเป็นการประเมินตัวเองเบื้องต้น

 

คนทั่วไปมักมีความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจ คิดว่าไม่ใช่โรค ดูแลเองได้

ขี้เกียจ/อู้งาน(ซึ่งเป็นอาการแสดง  แต่ไม่ใช่นิสัย) คิดไปเองสามารถหายเองได้ โรคซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตามอาการ

 

แนวทางในการจัดการกับโรคซึมเศร้าได้แก่

·   พบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยยาและจิตบำบัดจะทำให้อาการดีขึ้นและหายขาด

·  กินยาต้านเศร้าอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 9-6 เดือน ตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด

·  ดูแลตัวเองเช่น นอนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง กินอาหารครบทุกมื้อ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้อารมณ์แย่ลง

·  ไม่ใช้สารเสพติดไม่ดื่มสุรา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง และคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ

·   ญาติหรือคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจและหาความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้มากขึ้น

·   ญาติหรือคนใกล้ตัวควรดูแลอย่างใกล้ชิดถ้าผู้ป่วยบอกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ให้อยู่ห่างจากสิ่งที่สามารถใช้ทำอันตรายตัวเองได้ เช่น ของมีคม อาวุธปืนยาฆ่าแมลง เชือก

 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการสื่อสารกับผู้เป็นโรคซึมเศร้าคือความหมายที่ถ่ายทอดไปกับคำพูด ไม่ใช่ตัวคำพูด เช่น คำว่า “สู้ ๆ นะ”จะได้ผลดีในกรณีที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมสู้กับโรคไปด้วยกันแต่จะได้ผลตรงข้ามถ้าพูดแล้วจากไปทิ้งให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้งผู้เป็นโรคซึมเศร้าต้องการการเข้าใจและกำลังใจ อยากให้รู้ว่ามีใครอยู่เคียงข้าง และที่สำคัญคือไม่ต้องการได้ยินว่า“ทำไม” เพราะผู้ป่วยเองก็ไม่สามารถตอบได้และยิ่งทำให้เครียดกว่าเดิม

 

เราสามารถออกแบบSafetyplan ในการรับมือกับโรคซึมเศร้าของตัวเองและคนรอบข้าง โดย

·  คอยดูสัญญานเตือนต่างๆ เช่น นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย ปวดหัวรุนแรง

·  หาวิธีรับมือที่เหมาะกับคนๆ นั้น เช่น ออกกำลัง สวดมนต์ กินอาหารที่ชอบ

·  จัดให้อยู่ในสถานที่ที่รู้สึกปลอดภัยเช่น อยู่กับครอบครัว อยู่กับกลุ่มเพื่อน

·  หาคนที่คุยด้วยได้มีเบอร์โทรศัพท์สำหรับโทรปรึกษาพูดคุยได้

·   ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น สายด่วนกรมสุขภาพจิต (1323)สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย (02 713 6796) จิตแพทย์

 

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ในการรับมือกับโรคซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิต เช่นเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา เพจสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยเพจที่ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตของมหาวิทยาลัย

 

Depression: Be Prepared รอบรู้และรับมือกับโรคซึมเศร้า

รศ.ดร. อรัญญา ตุ้ยคำภีร์

สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ในปัจจุบันนิสิตนักศึกษาจำนวนมากประสบกับภาวะ chronic unhappiness เนื่องจากประสบการณ์ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ตนรับรู้หรือสิ่งที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้องกับสิ่งที่คาดหวังโดยช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่จะมีแบบแผนการใช้ชีวิตที่ผูกพันกับอินเตอร์เน็ทและมือถือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เน้นความสะดวกรวดเร็วให้คุณค่ากับสิ่งที่ถูกใจ มีตัวตนที่หลากหลายในโลกจริงและโลกเสมือนจริงและชอบให้ตัวเองดูดี เมื่อผิดจากที่คาดจึงเกิดเป็นแรงกดดันอย่างมากแม้จะมีเพื่อนมากมายใน social media และมีอุปกรณ์ให้สื่อสารได้ตลอดเวลาแต่รายงานทางการแพทย์พบว่าคนรุ่นใหม่มักมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคมจริง มีอาการเหงาในเวลากลางคืนนอนไม่หลับ นอนไม่พอ ไม่มีเพื่อนแท้ที่จะรับฟังปัญหาเนื่องจากขาดทักษะในการปฎิสัมพันธ์กับคนในโลกจริง

 

การดูแลจิตใจของนิสิตนักศึกษาจึงมีเป้าหมายให้สามารถปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้เพื่อให้มีชีวิตที่ดี เรียนดี ทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้เต็มศักยภาพและใช้ชีวิตอย่างเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและสังคมการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะในทางดีหรือร้ายจะต้องใช้พลังงานมากถ้าปรับตัวไปไม่ได้จะกลายเป็นภาวะวิกฤติสิ่งสำคัญคือการมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง ซึ่งจะเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงปรับตัว และเติบโตของเรา นอกจากนั้นเราจะต้องมี empathy ที่ทำให้เข้าใจเรื่องราวความรู้สึก และสถานการณ์ที่คนอื่นประสบอยู่ทำให้คนที่ต้องการขอความช่วยเหลือรับรู้ว่ามีคนเข้าใจปัญหาของตน เกิดความไว้ใจกล้าเล่ารายละเอียดของปัญหา

 

การดูแลช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาด้านจิตใจจะเริ่มจากการสำรวจและทำความเข้าใจปัญหา โดยพิจารณาสถานการณ์ ความต้องการความกังวลใจที่มี และผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยแยกแยะความรู้สึกสับสนประเมินความเข้มแข็งภายใน และแหล่งให้ความช่วยเหลือที่มีเราสามารถทำการประเมินความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในเบื้องต้นได้โดยแบ่งอาการเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สามารถรับมือได้ง่ายขึ้น

 

ความวิตกกังวลจะแบ่งได้เป็น3 กลุ่มอาการคือ

1.     worrying  เช่น รู้สึกระวนกระวาย ตึงเครียดกังวลในเรื่องเดิม ๆ ซึ่งบำบัดได้ด้วยการออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ฯลฯ

2.     feelingof panic เช่น รู้สึกตื่นตระหนกอย่างไม่คาดคิด รู้สึกรับอะไรไม่ไหวหรือกลัวมาก ซึ่งต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดเพราะจะมีการกระตุ้นทางร่างกายร่วมด้วย

3.     anxiousphysical symptoms เช่นวิงเวียนศรีษะ ปวดหัว หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่คนไทยเป็นกันมาก ยังไม่วิกฤตแต่ถ้ามีปัญหาหนักแทรกเข้ามาจะรับมือยาก

 

ภาวะซึมเศร้าแบ่งเป็น4 กลุ่มอาการคือ

1.     thoughand feelings เช่น หดหู่ รู้สึกเป็นทุกข์ร้องไห้ง่ายอย่างไม่มีเหตุผล หมดกำลังใจ สิ้นหวัง

2.     activitiesand personal relationships เช่น ขาดความสนใจในคนรอบข้าง เหงาขาดความกระตือรือร้น

3.     physicalsymptoms เช่น เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไปเบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป

4.     suicidalurges เช่น มีความคิดเกี่ยวกับความตายหรืออยากตาย อยากทำร้ายตนเอง

 

เมื่อเราไม่สามารถรับมือกับความกดดันและปัญหาในชีวิตจะเกิดภาวะวิกฤตทางอารมณ์ที่คุกคามหรือส่งผลต่อเป้าหมายสำคัญในชีวิตของเรา เช่นไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ด้านลบของตัวเอง ไม่สามารถอดทนต่อความเหงาได้มีขีดจำกัดในการแบกรับเรื่องปวดใจหรือทุกข์ใจ มีข้อจำกัดในการหาความช่วยเหลือโดยพื้นนิสัยที่มองอะไรแคบ ขาดความผูกพันหรือใกล้ชิดกับคนอื่น การฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตทางอารมณ์ต้องใช้เวลาควบคู่กับการปรับทัศนคติ

 

ภูมิคุ้มกันทางจิตใจสามารถสร้างได้ด้วยการมีสุขภาพร่างกายและชีวิตที่ดีโดยการเพิ่มสมรรถภาพความฟิต    เพิ่มพลังงานในชีวิต ลดระดับความกดดันความเครียด เพิ่มพื้นนิสัยทางบวก คุณค่า และความหมายให้ชีวิตซึ่งการเสริมสร้างอารมณ์ทางบวกทำได้โดย การทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจเกิดความภูมิใจในตัวเอง บริหารเวลา จัดการกับความโกรธ รักษามิตรภาพที่ดีงาม ผ่อนปรนให้ตัวเองบ้างปลูกต้นไม้ ฝึกสติ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังสม่ำเสมอ ฯลฯ

 

กิจกรรมที่สามารถช่วยปลูกฝังนิสัยบวก

·  จดบันทึกสิ่งดี ๆ ที่ทำให้เรายิ้มได้มีพลัง ทำเป็นประจำ แม้ว่าจะเป็นเรื่องธรรมดา ๆ เช่น  ตื่นมาดูน้ำค้างตอนเช้า  สวดมนต์ข้ามปี เพราะ “ชีวิตดี เริ่มต้นดี”

·  ทำอะไรที่เป็นการขอบคุณคนที่มีบุญคุณต่อเราจะด้วยคำพูดหรือการกระทำก็ได้

·  ให้อภัยเขียนบันทึกให้อภัยคนที่ทำให้เราเจ็บช้ำการผูกใจเจ็บยิ่งบ่มเพาะความอยากแก้แค้นและความคิดเชิงลบซึ่งเป็นศัตรูของความสุข

·  กระชับความสัมพันธ์ฉันกัลยาณมิตรให้เวลากับเพื่อนและญาติมิตร

 

Depressed– Survival Guide เทคนิคเอาตัวรอดจากโรคซึมเศร้า

คุณวัชรพงษ์อารีกิจ อดีตผู้รับทุนฟุลไบรท์

ทพญ.กัญจน์ภัสสรสุริยาแสงเพ็ชร์ OCCA

คุณพริมาเพ็ชร์คุ้ม นักศึกษา

ดำเนินรายการโดยคุณพรทิพย์ กาญจนนิยต อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์)

 

แต่ละคนจะมีวิธีการรับมือกับโรคซึมเศร้าต่างกันเพราะมีพื้นฐานที่ต่างกันสิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าและยอมรับความช่วยเหลือเพราะในสังคมไทยยังไม่พร้อมเปิดรับโรคนี้มากนัก ทำให้คนที่เป็นโรคไม่กล้าบอกใครเพราะกลัวจะถูกมองว่าผิดปกติเราจะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมตัวเองเพื่อดูว่ามีอะไรผิดปกติไปจากเดิม เช่น เฉื่อยชานอนมากขึ้น เบื่ออาหาร หมดอาลัยตายอยาก ผัดวันประกันพรุ่ง อารมณ์รุนแรงเกรี้ยวกราดไม่มีเหตุผล หากมีอาการผิดปกติควรหาความ professionalsupports ซึ่งอาจจะเป็นนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่หากเป็นก็จะได้รักษาให้ถูกวิธี

 

การที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเปิดใจขอความช่วยเหลือจากใครจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวคนนั้น จึงจะกล้าเล่าซึ่งหากเรารู้ว่าใครมีภาวะซึมเศร้าหรือกำลังเป็นโรคซึมเศร้าเราจะต้องระวังการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับคน ๆ นั้นแม้ว่าจะเป็นการให้กำลังใจหรือให้ความรู้ ก็ไม่ควรแชร์ออกสื่อเพราะอาจจะมีผลกระทบในทางลบกับผู้ป่วย

 

OOCAเป็น platform การให้คำปรึกษาสุขภาพจิตที่ตั้งขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากบริการของรัฐอาจจะไม่รองรับความต้องการได้ โดยขณะนี้ OOCA กำลังทำข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งเพื่อให้นักศึกษาสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านมหาวิทยาลัยเข้ามาใช้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

ขณะที่เข้ารับการรักษาผู้ป่วยจะต้องบอกให้คนรอบข้างรู้เพื่อจะได้ทำตัวให้เหมาะสม ไม่สร้างความกดดันเพิ่มโดยอาจจะมีการทำข้อตกลงกัน เช่น ห้ามพูดคำบางคำซึ่งไม่มีกฎตายตัวว่าคำพูดไหนใช้ได้หรือไม่ได้ ขึ้นกับบุคคลและสถานการณ์บางครั้งฟังอย่างเดียวจะดีกว่าพูดคำปลอบใจอาจจะไม่ช่วยเพราะคนที่มีอาการซึมเศร้าจะมองโลกในแง่ลบอยู่แล้วคำพูดให้กำลังใจอาจจะส่งผลดีหรือร้ายก็ได้ เช่นคำว่า “สู้ ๆ นะ” อาจจะถูกตีความหมายว่าที่ผ่านมายังสู้ไม่พอทั้งนี้ คนรอบข้างจะต้องไม่นำประสบการณ์ของตัวเองไปตัดสินหากมีผู้ป่วยเกิดความคิดทำร้ายตัวเองหรือต้องการฆ่าตัวตาย ให้เปลี่ยน focus ไปที่เรื่องอื่น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ

 

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ไม่หายขาดแต่ถ้าเคยเป็นแล้วจะทำให้มีประสบการณ์ในการรับมือกับอารมณ์ตัวเองรู้เท่าทันและปรับใจตัวเองได้ คำแนะนำทั่วไปคือ

·    ทำสิ่งที่ช่วยให้ตัวเองสบายใจเช่น ออกกำลังกาย และอยู่กับปัจจุบัน

·    พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเราเข้าใจความแตกต่าง เพื่อให้ลดความขัดแย้ง

·    กินยาอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ยาจะช่วยได้ในกรณีที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองแต่โรคซึมเศร้ามีหลายองค์ประกอบ ไม่สามารถรักษาด้วยยาอย่างเดียว

·    ต้องขอความช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือ

·    หลักศาสนาใช้ไม่ได้กับทุกคน เพราะความรู้ไม่ใช่การกระทำการนำหลักศาสนามาอ้างอิงเพื่อปลอบใจหรือให้สติเป็นแค่ทฤษฎีอาจจะไม่มีผลเชิงปฏิบัติ

 

Common Protocol for Depression เตรียมพร้อมทุกสถานการณ์

ผ.ศ.เบญจวรรณ อุบลศรี

ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์)

 

ผลการสำรวจในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ21 แห่งพบว่า

·       ส่วนใหญ่ (14แห่ง) มีหน่วยงานเฉพาะด้านสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษามีเจ้าหน้าที่จิตวิทยาและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยงานเป็นผู้ดูแลโดยถ้าเป็นนักศึกษาไทยจะขึ้นกับกองกิจการนิสิตภายใต้การดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการหรือกิจการนักศึกษาส่วนนักศึกษาต่างชาติจะขึ้นกับวิเทศสัมพันธ์และอยู่ภายใต้รองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ

·       ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในหมู่นักศึกษาคือซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล ตามมาด้วยอาการอื่น ๆ เช่น เหงา นอนไม่หลับ bipolar

·       สาเหตุที่คาดว่าเป็นปัจจัยนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตของนักศึกษาคือ

        > การเรียนรวมถึงความเครียดจากการสอบ

        > ปัญหาด้านความสัมพันธ์ทั้งจากเพื่อนและแฟนรวมถึงการเข้าสังคม

        > ปัญหาครอบครัว

        > อื่นๆ เช่นการปรับตัวในรั้วมหาวิทยาลัย culture shockการเงินโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเรียนการคิดถึงบ้านและการเปรียบเทียบตัวเองกับคนรอบข้าง

·       ข้อสังเกตเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในหมู่นักศึกษา

        > ด้านการยอมรับและแยกแยะ– นักศึกษาไม่ยอมรับหรือไม่รู้ตัวว่ากำลังมีปัญหา ปิดกั้นความช่วยเหลือหรือพยายามแก้ปัญหาเอง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปการสร้างตัวตนใหม่ขึ้นมาบางครั้งนักศึกษาก็

           ไม่ได้มีปัญหาจริงแต่เป็นการเรียกร้องความสนใจบางครั้งผู้ปกครองก็ไม่ยอมรับว่าลูกหลานมีปัญหาด้านสุขภาพจิต

       > การให้ความช่วยเหลือและรักษา– นักศึกษาที่มีปัญหาไม่ยอมรับการรักษา รักษาไม่ต่อเนี่องหรือรู้ว่ามีปัญหาแต่ไม่รู้จะปรึกษาใครขณะเดียวกันคำพูดหรือการกระทำของคนรอบข้างก็ยิ่งทำให้

            สถานการณ์แย่ลง

       > โซเชียลมีเดีย- สื่อออนไลน์เป็นทั้งช่องทางการแสดงออกของนักศึกษาและช่องทางให้อาจารย์/เพื่อนช่วยกันสอดส่องผู้ที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิตขณะเดียวกันก็เป็นทั้ง peersupportและ

            peer pressure เพราะการโพสข้อความตอบหรือตอบโต้ไปมาสร้างกระแสหรือความกดดันได้ง่ายและมีผลกระทบแรง

  

จากการระดมสมองของผู้เข้าร่วมกิจกรรมพบว่า

สิ่งที่ทุกมหาวิทยาลัยควรมีเพื่อระวังและรับมือกับโรคซึมเศร้าในหมู่นักศึกษาคือ

·        ศูนย์หรือหน่วยงานตรงที่ให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาที่มีนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ประจำ

·        ระบบการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาที่มีช่องทางหลากหลาย เช่น hotline 24 ชั่วโมง เฟสบุ๊คให้คำปรึกษา

·        รณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยกันดูแลอย่างทั่วถึง

·        เจ้าหน้าที่ซึ่งสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้และแหล่งข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาต่างชาติ

 

อุปสรรคของมหาวิทยาลัยในการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต

·        อุปสรรคเชิงนโยบาย

         ผู้บริหารไม่เข้าใจถึงความสำคัญของปัญหาขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะnativespeakerหรือผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับนักศึกษาต่างชาติได้ ขาดงบประมาณ

         สนับสนุนนอกจากนี้ระเบียบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยก็มีความยุ่งยากซับซ้อน

·        อุปสรรคด้านความรู้ความเข้าใจ และทักษะที่เกี่ยวข้อง

         นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้าอย่างเพียงพอขาดทักษะในการรับมือกับปัญหา

·        อุปสรรค์จากฝั่งนักศึกษา

         นักศึกษาไม่ยอมรับว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพจิตปิดกั้นตัวเอง ไม่ยอมรับความช่วยเหลือ ครอบครัวไม่ยอมรับ

 

ความช่วยเหลือที่มหาวิทยาลัยต้องการ

·        ความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)

         > ผลักดันเชิงนโยบายจัดให้ปัญหาสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้าเป็นวาระสำคัญที่ทุกมหาวิทยาลัยควรตระหนักและเตรียมพร้อมรับมืออย่างจริงจังมีการวัดผลที่เห็นเป็นรูปธรรม

         > เป็นศูนย์กลางจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีทีมวิทยากรให้ความรู้เรื่องนี้โดยเฉพาะสำหรับเวียนไปตามมหาวิทยาลัย อบรมบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่

             เกี่ยวข้องส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย

          > จัดงบประมาณเพื่อทำplatform ให้ความรู้และความช่วยเหลือที่นักศึกษาเข้าถึงได้มีสื่อออนไลน์ที่ทันสมัย เข้าถึงง่าย

·        ความช่วยเหลือจากฟุลไบรท์

          > เชื่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ

 

 

Summary from ThailandInternationalization Forum 2019 on “Depression Decoded: รู้จักระวัง และรับมือโรคซึมเศร้า โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน(ฟุลไบรท์) วันที่ 21 มีนาคม 2562 ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

.........................................................................